โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ภาค 6 ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง (พ.2)
ความง่ายและธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ยังเป็นหลักในการนำเสนอ "ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง" หนังสือเล่มใหม่ในชุดดังกล่าวอยู่เหมือนเดิม
ความง่ายและธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ยังเป็นหลักในการนำเสนอ "ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง" หนังสือเล่มใหม่ในชุดดังกล่าวอยู่เหมือนเดิม
เราจะเข้าใจมนุษย์ในฐานะสมาชิกของเศรษฐกิจ มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นมา เศรษฐศาสตร์ไร้กระได แบบเชื่อขนมกินได้เล่มนี้จะพาผู้อ่านไปพบกับ อีกมิติหนึ่งในมุมมองแบบเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ วรากรณ์ สามโกเศศ มีคำอธิบายพร้อมตัวอย่าง ประกอบแบบง่ายๆ และเห็นได้ชัด นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้ ติดตามใคร่ครวญ
หลายคนพอเห็นคำว่า "เศรษฐศาสตร์" ก็ขยาดแขยง ด้วยกลัวว่าคงเต็มไปด้วยตัวเลข กราฟ และสถิติมากมาย แต่ข้อเขียนของวรากรณ์ สามโกเศศ หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะทั้งง่าย ท้งสนุกครบสูตรอาหารสมองทั้งสองหมู่ คือสาระและบันเทิง ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งได้วิตามินความรู้มาก บำรุงอารมณ์ และสมองในคราเดียวกัน ขาดทุนคือกำไร หรือภาษาอังกฤษว่า NO PAIN NO GAIN เป็นวลีคงกระพัน อันแสดงสัจธรรม เช่นเดียวกับโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี
"""...อนิจจาน่าเสียดาย ฉันทำชีวิตหายไปครึ่งหนึ่ง ส่วนที่หายนั้นลึกซึ้ง เจือน้ำผึ้งบุหงาลดามาลย์"" นี่อาจจะเป็นอาการเดียวกับคนที่เพิ่งอ่าน ""โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ภาค 3"" นี้ แต่นี่ก็เป็นคำจำกัดความของ ""โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี"" ได้เป็นอย่างดี เพราะหากคุณทำอะไรสักอย่าง คุณก็ต้องสูญเสียการกระทำอะไรสักอย่างไปเช่นกัน ไม่ใช่เรื่องของความโลภแต่เป็นสัจธรรม ดังสำนวนไทยโบราณท่านว่า ""ได้อย่าง เสียอย่าง"""
วรากรณ์ สามโกเศศ นับเป็นคนส่วนน้อยที่ชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องราวง่ายและสนุก สามารถอธิบายเรื่องราวใกล้ตัวให้เป็นเรื่องราวชวนรู้ ด้วยแง่คิดเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยผู้อ่านไม่รู้สึกว่ากำลังอ่านเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่หนักอึ้ง เพราะความง่ายที่ซึมซับอย่างเป็นธรรมชาติ
"ในโลกนี้มีคนจำนวนมากที่ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ส่วนคนที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายมีไม่มากนัก แต่ที่มีน้อยยิ่งกว่า คือคนที่สามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก ""วีรกร ตรีเศศ"" ถือเป็นคนจำนวนน้อยยิ่งกว่าน้อย เพราะเขาสามารถทำให้เรื่องราวด้านเศรษฐกิจและหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ยากแสนยาก กลายเป็นเรื่องง่ายที่อ่านสนุกสำหรับผู้อ่านคอลัมน์ ""อาหารสมอง"" แถมด้วยมุมมองเฉียบคม และตบด้วยน้ำจิ้มอาหารสมองที่คมคาย ""อาหารสมอง"" จึงเป็นคอลัมน์สุดฮิตใน ""มติชนสุดสัปดาห์"" ได้ในเวลาอันรวดเร็ว"
"ระเบิด “ศึกธุรกิจน้ำอัดลม” มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท สงครามสี่เส้าของ 4 ยี่ห้อชั้นนำ ต่างขับเคี่ยวชิงไหวพริบทุกฝีก้าว จากการแตกหักของ “เป๊ปซี่” กับ “เสริมสุข” พันธมิตรคู่บุญที่จับมือกันมาเกือบ 6 ทศวรรษ นำไปสู่การปรับตัวหาที่ยืนใหม่ของเป๊บซี่ และการบุกเบิกสร้างแบรนด์น้องใหม่มาแรงในชื่อ “เอส” ของเสริมสุข ทางฝั่งพี่ใหญ่ระดับโลกอย่าง “โค้ก” ฉกฉวยจังหวะคู่แข่งเพล่งพล้ำ เร่งสปีดทำคะแนนสุดกำลัง ส่วน “บิ๊กโคล่า” ตั้งต้นที่กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ก้าวสู่การบุกเมืองหลวงเต็มที่ มหากาพย์เรื่องนี้ไม่มีใครเป็น พระเอก พระรอง หรือตัวร้าย เพราะทุกรายต่างก็ได้รับ “บทเด่น” ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หนังสือเล่มนี้
" การต่อกรกันอย่างดุเดือดของบรรดายักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กในวงการธุรกิจ ระหว่าง แกรมมี่ - อาร์เอส, ช่อง 3 - ช่อง 7, มาม่า - ไวไว, โซนี่- ซัมซุง, ปูนช้าง - ปูนอินทรี, แอล.พี.เอ็น.
"ทีมข่าวหนังสือพิมพ์ ""ประชาชาติธุรกิจ"" ได้เจาะลึกทุกแง่มุมเพื่อนำมาเสนอต่อผู้อ่านอย่างครบถ้วนรอบด้าน สาระสำคัญมิได้อยู่ตรงที่ว่า ใครเหนือกว่าใคร หรือใครจะแพ้ หรือใครจะชนะในท้ายที่สุด คุณค่าของเรื่องราวยังแฝงอยู่ในวิธีคิด การกำหนดทิศทาง การพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้งของแบรนด์ดังเหล่านี้ อย่างน้อยเชื่อว่าผู้อ่านจะได้แง่มุมความคิดและกลยุทธ์การตลาดจากเวทีต่อสู้ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราในโลกธุรกิจที่หมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในเวลานี้ "