รัฐศาสตร์
สติบำบัด (พ.6)
แนวทางการบำบัดอาการทางจิตที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการของสติปัฏฐานร่วมกับแนวทางการฝึกความฉลาดทางอารมณ์ ด้วยการฝึกชนิดนี้ นำไปสู่การฝึกที่เรียกว่าวิปัสสนา ซึ่งแพร่หลายมากในหมู่ชาวพุทธทั้งไทยและพม่า รวมไปถึงประเทศยุโรปและอเมริกา ได้ผลดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ไม่ง่ายสำหรับทุกคนที่จะฝึกฝน
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดีเสมอ (พ.17)
"รวบรวมทัศนคติการมองโลกด้านบวกจากกรณีต่างๆ ให้แง่คิดการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข โดยยึดเอาบทเรียนที่เกิดขึ้นไม่อาจหลีกเลี่ยงให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เรื่องราวที่ยกเป็นตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้เป็นกรณ๊ศึกษา สามารถนำไปดัดแปลงหรือคล้ายๆ กัน บางเรื่องอาจจะหนักหนาสาหัสกับชีวิต ยากจะทำใจได้ แต่ถ้าใช้สติปัญญาทลายกำแพง มองโลกด้านลบให้คุณ จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เลวร้ายสุดขั้ว ยังมีประโยชน์เจือปนอยู่ การแก้ปมปัญหาย่อมทำให้คนเราไม่ย่อท้อหรือหวาดกลัวกับการเผชิญหน้าอุปสรรคทั้งปวง.... สำคัญว่า...เราอยากจะลองยอมรับความจริงหรือเปล่า"
อรุณตวัดการเมือง พ.1
"“ล้อเลียน-เสียดสี -ประชดประชัน -อารมณ์ขัน –คมกริบ” อยู่ในลายเส้นเป็นการ์ตูนการเมืองของอรุณ วัชระสวัสดิ์ ที่ตีพิมพ์ทั้งในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันและมติชนสุดสัปดาห์ ด้วยความคิดที่เฉียบขาด นำเสนอการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐหรือนักการเมืองอย่างแสบสันต์หรรษา จึงทำให้มีแฟนประจำคอลัมน์การ์ตูนการเมืองของอรุณที่จะต้องคอยดูอยู่เสมอว่าวันนี้อรุณจะเขียนเรื่องอะไรและกลายเป็นคอลัมน์สำคัญที่มิอาจมองข้ามไปได้ การ์ตูนการเมืองบางภาพของอรุณยังมีมิติที่สะท้อนเนื้อหาได้ลึกและกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่าบทความ และการ์ตูนการเมืองทุกรูปที่อรุณเขียน ต่อไปในอนาคตจะกลายเป็น “หลักฐานประวัติศาสตร์สังคมการเม
ประชาธิปไตย คนไทยไม่เท่ากัน
หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองทุกวันนี้ที่ะช่วยให้เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะดำรงตนหรือกำหนดจุดยืนทางประชาธิปไตยได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ตลอดจนช่วยให้เห็นลู่ทางที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงปัจจุบัน เป็นผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายวัน คอลัมน์ “ใต้กระแส” มีผลงานด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ-การเมือง ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาและด้อยพัฒนาของประเทศโลกที่สาม สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น และประ
การเมืองไทยใต้อาทิตย์สองดวง
"หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ผ่านมา นับแต่ปลายปี 2556 ที่ม็อบนกหวีดออกปฏิบัติการทางการเมืองด้วยการปิดกรุงเทพฯ ปิดสถานที่ราชการ แตกต่างจากปฏิกิริยาของคนกรุงเทพฯ ที่ยอมทนกับสภาพการณ์ดังกล่าว เพียงเพราะเป็นแนวร่วมกลายๆ กับม็อบในกรุงเทพฯ ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ประเด็นของหนังสือมิได้เล่าไปเรื่อยๆ หากแต่แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มเรื่อง ดังนี้"
การเมืองไทย วัยฮอร์โมน
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร นักวิชาการและอดีตรมต. ผู้ผ่านยุคสมัยการเมืองของนายกรัฐมนตรี เปิดมุมคิดวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เช่น การปฏิรูปการเมือง การพิจารณาคดีของศาลไทย การบริหารจัดการม็อบการเมือง การเติบโตทางความคิดเรื่องการเมืองของคนไทย ฯลฯ ประเทศไทยจะมีหนทางสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงได้อย่างไร ดร.วีรพงษ์ เสนอแนะหลักคิดไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือเล่มนี้
หลังม่านการเมือง พ.1
"เมื่อพูดถึงฮาร์ดแวร์คือเวที ฉาก วงดนตรี และซอฟต์แวร์คือนักแสดงนำแล้วมาถึงเล่มสุดท้ายนี้ ผู้ใหญ่ที่อ่านตันฉบับอุทานว่า นี่มันเบื้องหลังการถ่ายทำนี่หว่า!
เล่าเรื่องผู้นำ พ.4
"ถ้าเมืองไทยมีผู้นำที่ใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย อย่างนายกฯ ชาติชาย คิดอะไรได้กว้างไกล ทำงานฉับไว อย่างนายกฯ ทักษิณ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตน อย่างนายกฯ ชวน ทำงานจริงจัง เกาะติดปัญหาชนิดแก้ไม่ได้ไม่ปล่อย อย่างนายกฯ บรรหาร ประนีประนอม ไม่ก้าวร้าว อย่างนายกฯ ชวลิต และ นายกฯ สุจินดา มีความเป็นสากลและสง่าในแทบทุกด้าน อย่างนายกฯ อานันท์ ฉลาดพูด อยู่ในวัยเหมาะแก่การทำงาน อย่างนายกฯ อภิสิทธิ์ ครองตนดี มีความจงรักภักดี เข้าใจวัฒนธรรมคนไทย อย่างนายกฯ เปรม และได้คุณสมบัติทั้งหมดนี้รวมกัน ประเทศไทยในมือผู้นำเช่นนี้ น่าจะเจริญวัฒนาสถาพรอย่างยากจะหาใดปาน"
โลกนี้คือละคร พ.6
ตำแหน่งแห่งหนใหญ่ๆ โตๆ นั้น เขาเปรียบเหมือนคนสวมหัวโขนหรือตัวละครบนเวที ถ้าเล่นสมบทบาทจนคนดู " อิน" ไปด้วยก็จะได้รับคำชม ดีไม่ดีได้ตุ๊กตาทองหรือสุพรรณหงส์ทองคำ ผมสวมหัวโขนหรือเล่นละครเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นเวลา ๙ ปี แต่ก่อนหน้านั้นสองปีเศษ เคยเล่นบทเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นยังได้เล่นบทเป็นรองนายกรับมนตรีอีกสมัยครึ่งเกือบสี่ปี รวมแล้วนั่งอยู่ในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีเล่นบทต่างๆ กัน ๑๕ ปี ทำงานกับรัฐบาล ๑๐ ชุด นายกรัฐมนตรี ๗ คน