สังคมศาสตร์
จุด (ไม่) จบ : ช่วงฉากการเมืองไทย 2548 - 2559
รวบรวมประมวลสถานการณ์ การเมืองไทยระหว่างช่วง 2548-2559 และคัดสรรมาอธิบายในรูปของ
“คำการเมือง” ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในฐานข้อมูลการเมืองการปกครองของ สถาบันพระปกเกล้า โดยเรียบเรียง
ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย แต่แฝงไปด้วยกรอบคิดด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และ
สังคมศาสตร์ไว้อย่างลงตัว เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ "การเมืองและสังคมไทย" ในช่วงที่ผ่านมา
2W 1H รหัส (ไม่) ลับ … สำหรับธรรมาภิบาลองค์กรภาครัฐ
อีกผลงานที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยทำให้เกิดความชัดเจน
ในการนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ โดยมุ่งสร้างความเข้าใจ และการนำไปใช้ร่วมกับเครื่องมือการบริหาร
สมัยใหม่เพื่อยกระดับสัมฤทธิ์ผลของธรรมาภิบาล เนื้อหาภายในประกอบด้วย ทำไมต้องมีธรรมาภิบาล ที่มา หลักการ
และองค์ประกอบ ตลอดจนการนำไปใช้
การเสริมสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็งเป็นสถาบันของประชาชน
ให้ความกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับ พรรคการเมืองในเชิงวิเคราะห์ ตั้งแต่ความหมาย องค์ประกอบ
บทบาทและ การทำหน้าที่ พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยในช่วงต่างๆ การตอบสนอง ต่อประโยชน์ของประชาชน
รวมถึงความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองและองค์ประกอบที่ทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็งในฐานะสถาบันทางการเมือง
โดยศึกษาบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่ได้มีการประกาศใช้และมีผล ต่อความเปลี่ยนแปลงของพรรคการเมือง
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาโครงสร้างและการบริหารพรรคการเมือง กรณีศึกษาพรรคการเมืองไทย และพรรคการเมืองในต่างประเทศ
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาพรรคการเมือง
Constitutions around the world
Comparative articles
The Distinctive design of the Constitution reflects intentions, principles and History related to the political context of foreign countries,
including England. China, Japan, Germany, USA, India, Netherlands, France, and Italy. include introducing the overview for understanding the Constitution,
proposing origins, origins, and contexts leading to constitutional structure and key principles and implications for the nation, democracy,
and coexistence by comparison of constitutional designs of different countries
รอบโลกรัฐธรรมนูญ
เสนอบทความเปรียบเทียบ การออกแบบรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเด่น สะท้อนเจตนารมณ์ หลักการ
และ ประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับบริบททางการเมืองของต่างประเทศ ได้แก่ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา อินเดีย
เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี สำหรับประเทศไทย มีการเกริ่นภาพรวมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ต่อรัฐธรรมนูญไทย กำเนิด ที่มา
และบริบทนำมาสู่การเป็นรัฐธรรมนูญ โครงสร้าง และหลักการสำคัญ และผลต่อชาติ ประชาธิปไตยและการอยู่ร่วมกัน และ
เปรียบเทียบการออกแบบรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ
พิศพรรคการเมือง : หลากมุมมองหลายประเทศ
บทความเปรียบเทียบการออกแบบพรรคการเมืองใน 8 ประเทศที่มีลักษณะเด่น และ
เป็นต้นแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย
โคลอมเบีย อังกฤษ เกาหลีใต้ เยอรมนี และญี่ปุ่น ทั้งประชาธิปไตยก้าวหน้า
และประเทศที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นประชาธิปไตย ซึ่งในแต่ละบทความ
เป็นการสะท้อนเจตนาคมณ์ หลักการ และแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับพรรค
การเมืองบนฐานบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน
ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย
งานวิจัยที่ศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบในการสร้างความเป็นพลเมืองและ ประสิทธิภาพทางการเมืองของพลเมือง
โดยใช้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการในพื้นที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.)
4 แห่งเพื่อประเมินระดับความเป็นพลเมืองในช่วงเวลาก่อนและหลัง การเข้าร่วมกระบวนการพัฒนานโยบาย ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำมาใช้พัฒนาตัวแบบในการสร้าง
ความเป็นพลเมืองและพัฒนาประสิทธิภาพทางการเมือง
พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงสังคม การเมืองไทย และความคิดเรื่อง การปฏิรูปที่เกี่ยวเนื่อง
นำเสนอปัจจัยพื้นฐานในด้านต่างๆ ได้แก่
ด้านสังคม การเมือง และความคิดเรื่องการ
ปฏิรูปประเทศไทยในมุมมองพื้นฐานด้าน
มานุษยวิทยา โดยเรียงตามเวลาเชิง
ประวัติศาสตร์ ผนวกกับการทฤษฎี
แนวคิดต่างๆ มาอธิบาย ทำให้เห็นภาพชัดเจนทั้งเชิงมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง
ในระดับมหภาคและภูมิภาค รวมทั้งการศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ มีทั้งส่วนที่เป็นภาพรวมการเปลี่ยนแปลงในอดีต
และการเปเลี่ยนแปลงในยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
หลักธรรมาภิบาล : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย
ธรรมาภิบาลเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
จากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หรือ IMF นำหลักการดังกล่าวมาใช้ในการ
กำกับดูแลประเทศต่างๆ ที่ขอรับความ
ช่วยเหลือ ทำให้ในแต่ละประเทศจึงได้ศึกษา
หลักการนี้อย่างจริงจัง หนังสือเล่มนี้เป็น
หลักการว่าด้วยแนวปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการ
บ้านเมืองให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งภายในได้
รวบรวมความหมายและการตีความ เพื่อให้
เกิดความเข้าใจใน 6 หลักของธรรมาภิบาล
มากยิ่งขึ้น