ข้าพเจ้าได้ใช้ชีวิตราชการที่ตำบลคาสุมิงาเซกิ (ที่ตั้งของสถานที่ราชการญี่ปุ่นกลางกรุงโตเกียว) เป็นเวลากว่า 30 ปี จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 1997 สิ่งที่ข้าพเจ้าประสบและเรียนรู้ในเวลานั้นคือโลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ข้าพเจ้าได้พยายามมองและคำนึงถึงบทบาทของญี่ปุ่นจากมุมเล็กๆ มุมหนึ่งในตำบลคาสุมิงาเซกิ ว่าควรเป็นอย่างไรในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ สงครามเย็นที่สิ้นสุดลงเมื่อสิบปีก่อนหน้านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ส่งผลให้โลกเปลี่ยนไปยมรับเอาการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นแม่แบบ และแต่ละประเทศก็ยังได้นำเอาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจของตนตามๆกันอีกด้วย และจากการนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้อย่างกว้างขวางนี่เองที่ทำให้ระบบโลกาภิวัฒน์ แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ทั้งมีการแข่งขันกันอย่างรุ่นแรงเช่นทุกวันนี้ ภายใต้สภาวะแวดล้อมใหม่เช่นนี้ ยุทธศาสตร์ทางการค้าและอุตสาหกรรมไม่ได้จำกัดกรอบแคบๆไว้เพียงแค่การเจรจาทางการค้าระหว่างภาครัฐเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงความสามารถของรัฐบาลว่าจะสร้างเงื่อนไขผลักดันหใมการพัฒนาทางเศราฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนวิสาหกิจเองก็ต้องสามารถให้ประโยชน์รัฐบาลของตน รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการแข่งขันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หนังสือเรื่อง ญี่ปุ่น : ยุทธศษสตร์การค้าและอุตสาหกรรม นี้จะสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าเนื้อหาของหนังสือจะมีประสบการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้ามากมายก็ตามทว่ามันก็ไม่ใช่หนังสือแนวอัตชีวประวัติแต่อย่างไร
0