100 Annual Book and Cover Design 2017
หนังสือเล่มนี้จะอธิบายแนวคิดหลังโครงสร้างนิยมได้อย่างเป็นระบบ ผ่านกรอบความคิดของนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดังในสกุลความคิดนี้
ฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida)
ฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan)
มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
ฌ็อง-ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด (Jean-François Lyotard)
ชีลส์ เดอเลิซ (Gilles Deleuze)
เฟลิกส์ กัตตารี (Félix Guattari)
'หลังโครงสร้างนิยม' (Poststructuralism) เป็นสกุลความคิดที่มีอิทธิพลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางปัญญา (intellectual landscape) ของโลกวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ในปลายศตวรรษที่ 20
นักคิดกลุ่มนี้มีลักษณะร่วมกันประการหนึ่ง นั่นคือ ทั้งหมดล้วนตั้งข้อระแวงสงสัยอย่างถอนรากถอนโคนต่อบรรดามโนทัศน์หลักๆ ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
นักคิดกลุ่มนี้มีความมุ่งมั่นจะไขปริศนาที่สังคมฝรั่งเศสในช่วงนั้นกำลังเผชิญอยู่ ว่าทำไมเหตุการณ์ที่เริ่มต้นด้วยลักษณะของการปฏิวัติจึงจบลงด้วยการกลับไปสู่สิ่งเดิม
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร เขียน - สรุป เรียบเรียง ตัดต่อ ถ่ายโอน ความหมายและความคิดเกี่ยวกับความคิดของนักคิดเหล่านี้ เพื่อต้องการเปิดพื้นที่ในส่วนของ ‘ทฤษฎีและวิธีการหาความรู้’ ในแวดวงการศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในประเทศไทยให้มีความแตกต่างและหลากหลายมากกว่าที่เป็นอยู่
แน่นอนว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง ผู้อ่านย่อมได้รับ 'ผลกระทบในเชิงตัวบท' และกลายเป็น 'อีกคนหนึ่ง' ไม่มากก็น้อย