" เยินเงาสสัว " (คำว่าเยิน หมายถึงเยินยอ คนแปลเลือกศัพท์เก่า ซึ่งเคยปรากฏในลิลิตพระลอมาใช้ แต่ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 เปลี่ยนมาใช้เป็น เยิรเงาสลัว ) มีลักษณะคล้ายความเรียงเชิงบ่นของคนแก่ ที่กำลังสะท้อนใจกับปรากฏการ์ณไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาสู่ญึ่ปุ่น จุนิจิโรคนเขียนเรื่องนี้พูดถึงความงามของสถาปัตยกรรม แบบญึ่ปุ่น อาหาร ผู้หญิงโบราณ ข้าวของเครื่องใช้ จุนิจิโรบอกว่า สุนทรียรสแบบญึ่ปุ่นนั้นมาพร้อมกับเงาสลัว ไม่ว่าจะเป็นห้องแบบญี่ปุ่น ภาชนะเครื่องเขินที่ใช้ใส่อาหารญี่ปุ่น เขาบอกว่า ซุปมิโสะ ที่ใส่อยู่ในถ้วยทรงกลม ลงรักสีดำ นั้น ดูสงบนิ่ง ชวนค้นหา และน่าลิ้มลองมากกว่าซุปแบบฝรั่งที่มักเสิร์ฟมาในจานสีขาวรูปทรงแบนกว้าง
จุนิจิโรอธิบายว่าทำไมคนตะวันออกจึงสนใจ และให้คุณค่ากับทองคำ เขาบอกว่าเป็นเพราะมันเปล่งประกายในทีมืดนั่นเอง ส่วนเกอิชา นั้นทำไมต้องแต่งหน้าขาวจัด คนเขียนเรื่องนี้อธิบายไว้อย่างน่าฟังว่า " บรรพบุรุษของเราเมื่อได้สกัดกั้นแสงเจิดจ้าจากเบื้องบนเอาไว้แล้ว ก็สร้างโลกแห่งเงาสลัวบนพื้นดิน ภายในห้วงลึกแห่งเงาสลัวนั้นพวกเขาจัดที่ไว้ให้สำหรับสตรี โดยทำให้เธอขาวที่สุดในสิ่งมีชีวิตทั้งปวง " เราจึงเห็นการแต่งหน้าแบบขาวจัดของเกอิชาญึ่ปุ่น
0
เยินเงาสัว
฿0.00
SKU: O0021300127
Price: ฿0.00
สำนักพิมพ์:
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
หมวดหลัก:
ISBN:
9740752721
ปกอีบุ๊ค:
รหัสต้นฉบับ:
06600015696
อ้างอิง DDebook:
6125
Rate:
ยังไม่มีการให้คะแนน
อ้างอิงข้อมูลหลัก:
เยินเงาสัว