จดหมายเหตุภาพ 2475
เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน หมายเลข 3 พิเศษ / 2549 หัวข้อ “จดหมายเหตุภาพ 2475”
เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน หมายเลข 3 พิเศษ / 2549 หัวข้อ “จดหมายเหตุภาพ 2475”
หนังสือที่อธิบายโครงสร้างภาษาสุภาพเพื่อเข้าสังคมญี่ปุ่นอย่างเข้าใจง่าย กล่าวถึงสำนวนขั้นพื้นฐานทำให้ไม่สับสน แยกสำนวนภาษาสุภาพเป็น 4 ประเภท ต่างจากหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นทั่วๆ ไป ทำให้ลดปัญหาการใช้ภาษาสุภาพแบบผิดๆ มีแบบฝึกหัดมากมายให้ฝึกฝน โดยฝึกจำสำนวนต่างๆ ให้ได้ แล้วจึงนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ให้เหมาะสม เน้นให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้จริงและพูดได้เป็นธรรมชาติเหมือน "เจ้าของภาษา" เลยทีเดียว
หนังสือที่เรียบเรียงขึ้นจากการที่ผู้เขียนและภรรยาของผู้เขียนศึกษาโครงสร้างสังคมของชาวนาไทย ตลอดระยะเวลาที่ได้พำนักอยู่ภายในหมู่บ้านและในเมืองเชียงใหม่ โดยมีหัวข้อหลักๆ ได้แก่ ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างหละหลวม, หมู่บ้านแดนสุขาวดี, กลุ่มสังคมในหมู่บ้าน, ผู้ใหญ่และผู้น้อย : การแบ่งชั้นทางสังคม, การชลประทาน,การเกี้ยวพาราสีและการแต่งงาน : บ่าวและสาว, ครอบครัว การสืบมรดก และเครือญาติ, รูปแบบและความแปรผันในโครงสร้างทางสังคมชาวนาไทย
หนังสือเล่มนี้มีความมุ่งหมายที่จะเสนอภาพรวมของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยชี้ความสืบเนื่องของโลกทัศน์จากวรรณคดีสมัยอยุธยา ในแง่ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติปัญหาและศักยภาพของมนุษย์ อีกทั้งการปรับเปลี่ยนที่เป็นนวลักษณ์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการสถาปนาราชอาณาจักรจนถึงการยืนหยัดต่อกระแสวัฒนธรรมตะวันตกด้วยความเชื่อมั่นในรากทางวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งในช่วงแผ่นดินที่สามของราชธานี นับเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการในการศึกษาวรรณคดีเชิงประวัติที่ชี้สายสัมพันธ์ระหว่างยุคและการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่และให้คำตอบได้หนักแน่นว่า งานเหล่านี้สื่อความหมายข้ามยุคสมัยมาด้วยคุณลักษณะภายในทั้งเชิงสุนทรียะ และเชิงจริยธ
ฐานที่มั่นและกองกำลังของกะเหรี่ยงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมยใกล้ชายแดนด้านตะวันตกของไทย... รบ.ไทยก็ดำเนินนโนบายเน้นความมั่นคงด้านการป้องกันชายแดนด้านตะวันตก หรือนโยบายกันกระทบ รบ.ทหารพม่ากำหนดยุทธศาสตร์ให้ชาวกระเหรี่ยงหรือกองทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) เป็นศัตรูอันดับหนึ่งที่รัฐบาลต้องปราบปรามอย่างเด็ดขาด เพราะ KNU มีศักยภาพทางทหารสูง และเป็นแกนนำสำคัญของกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งพม่า (DAB)... และด้วยเหตุที่รัฐกะเหรี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ 4 ประเทศ คือไทย จีน พม่า และลาว...
ประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในสมัยโบราณว่าสยาม และประเทศจีน เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาช้านาน ชาวไทยและชาวจีนได้ไปมาหาสู่และติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองมาตั้งแต่โบราณ แม้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีพลเมืองมากกว่าประเทศไทยก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองส่วนมากจะมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อกันฉันท์ญาติมิตร ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ ประเทศไทยกับประเทศจีนได้มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บางขณะอาจไปมาหาสู่กันบ่อยครั้ง ในบางคราวอาจห่างเหินไปบ้าง อันเนื่องมาจากปัญหาภายในของแต่ละประเทศและสถานการณ์ระหว่างประเทศ
หนังสือ ความเป็นมาของทฤษฎี แบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย เป็นงานวิจัยปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งทำความเข้าใจในเหตุการณ์เหล่านั้นจากประวัติศาสตร์ การให้ความสำคัญที่ประวัติศาสตร์ไม่ได้เกิดมาเพราะผู้เขียนทำงานด้านประวัติศาสตร์มากกว่าด้านอื่น หากจริงๆ แล้วมาจากการพบว่า ข้อมูลและการอธิบายของผู้คนทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน ทั้งสถาบันและปัจเจกชน ในปัญหาจังหวัดมลายูมุสลิมภาคใต้นั้น ขัดแย้งและไม่ตรงต่อหลักฐานชั้นต้นเป็นอันมาก ที่สำคัญคือการมีอคติในประวัติศาสตร์เรื่องปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีอยู่มาก จากประสบการณ์เหล่านี้เอง ทำให้ผู้เขียนต้องการค้นคว้าว่าเราจะสามารถหาและสร้างป
1 ในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน (สกว.) "ความเป็นมาขงอคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เรื่องของชื่อเมืองไทยที่เรียกกันว่า “สยาม” นี้อันที่จริงก็เป็นเรื่องเก่า ๆ ที่มีผู้เขียนสืบสาวและอธิบายความหมายกันมามากแล้ว, การนำมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้ ด้านหนึ่งจึงดูออกจะเป็นเรื่องซ้ำซากน่าเบื่อเต็มที แต่อย่างไรก็ดี ถ้าท่านได้ติดตามอ่านข้อเขียนนี้จนจบแล้ว ท่านจะรู้เลยว่าไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด ผลงานวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตรวรรษที่ผู้อ่านไม่ควรพลาด
ว่าด้วย ชีวิตและผลงาน, วรรณกรรมคำสอน, บทละคร, โคลงกลอนศิลปะเพื่อชีวิต โลกทัศน์ทางการเมืองในวรรณกรรมของครูเทพ
ขุนนางเป็นสถาบันสำคัญและมีบทบาทมากที่สุดสถาบันหนึ่งในระบบสังคมและการเมืองของอาณาจักรอยุธยา ขุนนางเป็นผู้ทรงอำนาจ อิทธิพล และ