นี่ เสียมกุก


ผู้แต่ง : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
0/5
0
ยังไม่มีการให้คะแนน

สำนักพิมพ์ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์

หมวด : สังคมศาสตร์

SKU : O0021300083



ราคา : ฿0.00
ตัวอย่าง


เนื้อหาย่อ

คนเสียมในภาพสลักนี้มีรอยสัก ( หรือลอยแผลเป็น? ) บนแก้ม และสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบพิเศษ เสื้อแขนสั้นดูจะเป็นแบบมาจากเขมร และเครื่องแต่งกายที่บุเสริมความหนาไว้ป้องกันหอกกับธนู ในทางตรงกันข้ามผ้านุ่งนั้นวิเศษนักทำจากวัสดุที่ละเอียดบางมาก ๆ ส่วนผ้านุ่งของควานช้างก็บางมากจนสามารถมองทะลุผ่าน ทำให้บังเหียนช้างได้ด้วยจากด้านบนมีพู่ห้อยลงมา เป็นสายจนถึงสายคาดคอช้างที่ปักเป็นลวดลาย เครื่องสวมศีรษะของคนเสียมแปลกประหลาดเป็นพิเศษ ทำขึ้นด้วยเส้นใยถักทอละเอียดยิบ ประดับด้านบนด้วยขนนกหรือใบไม้ห้อยย้อยลงมา อาวุธนั้นก็แตกต่างจากของเขมรยิ่ง เป็นแหลนที่ปลายเป็นพู่ขนนกหรือใบไม้ ตัวนายหัวหน้าถือธนู ( ซึ่งปกติเป็นอาวุธของคนจาม ) ไว้อย่างไม่ค่อยถนัดนัก แต่หน้าตาของทหารเสียมนั่นแหละที่เราควรให้ความสนใจ ถ้าเราต้องการจะบรรยายท่าของคนเสียมด้วยคำพูดเพียงคำหรือสองคำ ก็กล่าวได้ว่าหน้าตาของคนเสียม คือ "คนป่า" ( forest/jungle people ) ลักษณะเช่นนี้ ดูจะไม่เข้ากับลักษณะคนไทยเลย แม้ในต้นคริสตศตวรรษที่ 12 เพราะนับแต่ราชสมัยราชวงศ์ถังแล้วที่คนไทยมีส่วนร่วมในอารยธรรมที่เจริญสูงส่งของน่านเจ้า ( เรื่องนี้เราลืมได้ง่ายเหลือเกิน ) คนไทยได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธอย่างมากซึ่งแสดงออกมาผ่านทางศิลปะอันสูงค่า เพราะฉะนั้นคนไทยจึงมีการจัดระเบียบทางสังคมที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสงคราม มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่สามารถต้านแรงกดดันที่มาจากจีนได้ และคนไทยก็ได้จัดระบบในสิบสองปันนาและสุดท้ายได้เข้ามาทำลายรัฐมอญและรัฐพม่า กลับไปไกลเท่าที่จะสามารถสืบประวัติศาสตร์ของคนไทยได้นั้น คนไทยมักปรากฎตัวเป็นผู้คนที่เพาะปลูกข้าว ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ราบ สวมใส่กางเกง และเป็นที่แน่นอนว่าในความสัมพันธ์กับผู้คนทางใต้เทือกเขาดังเดิมของตน คนไทยนั้นผิวขาวกว่า กล่าวโดยสรุปแม้จะเป็นกองทัพเล็กปๆ เราก็ไม่สามารถเห็นลักษณะของคนไทยได้ที่นครวัด