ผู้แต่ง : ดร. ธีระ นุชเปี่ยม
สำนักพิมพ์ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
หมวด : สังคมศาสตร์
SKU : O0021300146
เนื้อหาย่อ
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวรรณกรรมเวียดนามในช่วงปี ค.ศ.1986-1989 และการเปลี่ยนแปลงของวรรณกรรมในยุคต่อมานั้น ไม่ได้เป็นผลจากนโยบาย โด๋ยเม้ย หรือการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1986 แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผลมาจากความพยายามของนักเขียน กวี นักวิจารณ์ และนักวิชาการด้านวรรณคดีเวียดนามหลังจากที่สงครามเวียดนามยุติลงในปี ค.ศ.1975 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์และผลิตงานวรรณกรรมนั้นมีมาก่อนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวรรณกรรมนั้นมีความสามารถพิเศษในการเข้าใจและเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในสังคม ความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองต่อโลก สังคม และการตัดสินคุณค่าของมนุษย์ในสังคมเวียดนามนั้นได้รับการนำเสนอ อภิปราย และถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องบนหน้าวรรณกรรมที่เขียนขึ้นหลังปี ค.ศ.1975 หนังสือเล่มนี้มุ่งวิเคราะห์พลวัตและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเวียดนามหลังปี ค.ศ. 1975 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของวรรณกรรมยุคโด๋ยเม้น (ปี ค.ศ.1986-1989) และแนวโน้มของวรรณกรรมเวียดนามในยุคต่อมา ซึ่งอาจจะกล่าวโดยสรุปคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของวรรณกรรมเวียดนามหลังปี ค.ศ. 1975 นั้น มีความซับซ้อนและค่อยเป็นค่อยไปก่อนที่จะปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรมหลังการประกาศนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจ