ชีวิตง้าย ง่าย
ชีวิตง้าย ง่าย
ชีวิตง้าย ง่าย
สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก
หนังสือเล่มนี้อธิบายเรื่องโครงสร้างการเมืองการปกครองของจีนอย่างละเอียด ตั้งแต่การก่อตั้งรัฐบาลจีนขึ้นจนเป็นรูปเป็นร่างหลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้ชนะพรรคกว๋อหมินต่างของซุนยัดเซ็นได้ ผู้เขียนแจกแจงเรื่องการแบ่งหน่วยการปกครอของจีน กล่าวถึงปัญหาในช่วงแรกๆ ของการก่อตั้งรัฐบาลจีน ไม่ว่าจะเป็น สงครามเกาหลี นโยบายก้าวกระโดด การปฏิวัติวัฒนธรรม และผลเสียทางเศรษฐกิจที่ตามมา ต่อเนื่องมาถึงช่วงหลังจากเติ้งเสี่ยวผิงยึดอำนาจได้ และทำการยกเลิกการปฏิวัติวัฒนธรรม พร้อมทั้งชูนโยบาย “สี่ทันสมัย” ขึ้นแทน กล่าวถึงโครงสร้างพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขั้นตอนการคัดเลือกบุคลากรเข้าบรรจุเป็นสมาชิกพรรค สิทธิพิเศษของบุคคลเหล่
"ทำไมเราถึงยกให้หนังสือ “ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย” เป็นหนังสือแห่งปี และหวังที่จะเห็นหนังสือเล่มนี้อยู่ในมือนักอ่านคนไทยมากที่สุด!
"สืบจากภาพเก่า สืบจากภาพเก่า และตีแผ่บทบาทของกลุ่มขุนนางในราชสำนัก สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่4-5 เป็นจำนวนหลายเล่ม ที่จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน ออกผลงานใหม่ล่าสุด หน้าหนึ่งในสยาม โดยเน้นหนักไปที่การนำเสนอภาพจากข่าวต่างประเทศในยุคนั้นแล้วนำมาวิเคราะห์ว่า ในช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดังคำนำของผู้เขียนว่า “...สิ่งที่ขาดแคลนอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองไทยคือการตีความทางประวัติศาสตร์ การวินิจฉัยข้อมูลใหม่ๆ โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อช่วยสะท้อนบทบาทของบุคคลในภาพ ณ สถานที่เกิดเหตุจริง ซึ่งอาจเป็นเพียงเรื่องเล่า แต่กลับกลายเป็นป
"เบื้องลึกเบื้องหลังประวัติศาสตร์ จากวาทะและข้อเขียนสำคัญ ของเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี “ ---บัดนั้นซึ่งเป็นคราวที่พวกเจ้านายตกต่ำนี่กระไร ---“ (พระประวัติตรัสเล่าใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) “---นี่เหลือที่จะอดกลั้น รู้สึกคันอยู่ในเนื้อที่หนา ๆ เช่น ซ่นเท้า เกาไม่ถึงก็ปานกัน---"" (พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕) “---ไหนใครๆ ว่าฉันมีบุญจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินทำไมถึงเป็นไปเช่นนี้---” (พระปรารภใน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา) นี่คือตัวอย่างวาทะสำคัญของพระมหากษัตริย์และเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เป็นแค่เพียงบางส่วน ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ยังมีอีกมาก ที่ผู้เขียน
ที่ผ่านมาเราศึกษาประวติศาสต ร์ความสัมพันธ์ไทย-พม่าด้วยการใช้แต่หลักฐานของทางฝ่ายไทยข้างเดียว บทความที่ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ นำมาเสนอในที่นี้ มุ่งศึกษาและตีแผ่เรื่องราวในสงครามที่ไทยมีกับพม่าตามที่มีปรากฏในพงศาวดารพม่าฉบับต่างๆ ซึ่งมีสาระและมุมมองที่หาอ่านไม่ได้ในเอกสารไทย สำหรับการจัดพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ดร.
"นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา ทุกประเภท ตั้งแต่ งานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม (พระพุทธรูป,งานปูนปั้น) และจิตรกรรม ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย โดยเฉพาะศิลปะล้านนา ผู้เขียนได้ออกสำรวจ และตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดจึงทำให้งานชิ้นนี้ เต็มไปด้วยข้อมุลหลักฐานที่เกี่ยวกับศิลปะล้านนาไว้อย่างครบถ้วน "
"การนำเสนอ ‘ศรีศิขเรศวร: ปราสาทพระวิหาร’ ในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นการเสนอข้อมูลทางวิชาการด้านศิลปะและโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา รูปแบบศิลปกรรม แนวคิดและคติการสร้างศาสนสถานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนแห่งนี้ในอดีต โดยการย้อนยุคไปยังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ที่ยังไม่มีเส้นเขตแดนไทยและกัมพูชา เพื่อการรับรู้ข้อมูลในลักษณะของการอธิบายและนำชมหลักฐานทางศิลปกรรมและจารึกที่ปรากฏอยู่ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับรู้ ทำความเข้าใจ ความเป็นมาและความสำคัญของปราสาทพระวิหารในฐานะตัวแทนของหลักฐานทางวัฒนธรรมที่แท้จริงที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมืองของนักการเมืองหร
"ในช่วงมหาอุทกภัยเมื่อปี ๒๕๕๔ เราคงได้ยินชื่อ คลองสามวา คลองหกวา คลองทวีวัฒนา คลองรพีพัฒน์ คลองมหาสวัสดิ์ ผ่านการรายงานจากผู้สื่อข่าวจากทางทีวี หรืออ่านจากข่าวหนังสือพิมพ์ แต่เราไม่เคยรู้เรื่องราวความเป็นมา เบื้องหลังของชื่อเสียงเรียงนามของแม่น้ำลำคลอง ว่าทำไมถึงได้ตั้งชื่อนี้ ส.พลายน้อย ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจำนวนกว่าเจ็ดสิบแห่ง ซึ่งเขียนเป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์มติชน ตั้งแต่กลางปี ๒๕๕๓ จนถึงต้นปี ๒๕๕๕ แล้วนำมาปรับปรุงใหม่ จนกลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะรู้เรื่องราวประวัติความเป็นมาของชื่อแม่น้ำลำคลองแล้ว ยังสอดแทรกเรื่องราวทา