การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ พ.8
ความขัดแย้ง การต่อสู้ของกลุ่มต่างๆ และบทบาทของขุนนางต่างชาติ กับกุศโลบายในการรักษาพระราชบัลลังก์ มุมมองใหม่ที่ต่างไปจากการตีความทางประวัติศาสตร์ที่ถือกันมาแต่ก่อน
ความขัดแย้ง การต่อสู้ของกลุ่มต่างๆ และบทบาทของขุนนางต่างชาติ กับกุศโลบายในการรักษาพระราชบัลลังก์ มุมมองใหม่ที่ต่างไปจากการตีความทางประวัติศาสตร์ที่ถือกันมาแต่ก่อน
งานวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับพระเจ้าตากสินที่วิเคราะห์ได้อย่างลุ่มลึก “เขาตายแต่ชื่อยัง แต่ตายอย่างไร ยังบอกไม่ได้”
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสิน ปรากฏครั้งแรกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรูปแบบพระราชพงศาวดารในฐานะเอกสารทางประวัติศาสตร์ แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เหตุใดเหล่านักเขียนในยุคสมัยนั้นถึงพยายาม “ปลุกปั้น” พระเจ้าตากให้มีตัวตนฐานะวีรบุรุษของชาติ หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ
ไขข้อข้องใจที่โยงใยอยู่กับศาสนา ความเชื่อ และศีลธรรมต่อเหตุการณ์เรื่องราวรอบๆ ตัวในสังคมพุทธๆ ผีๆ เป็นสิ่งที่ควรพินิจพิเคราะห์ให้ลึกไปกว่าการออกความเห็นตามจารีตรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความเป็นไทยแบบดึกดำบรรพ์
ว่าด้วยเรื่องเหตุที่มาที่ไปของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ด้วยแนวคิดใหม่ที่ทะลายแนวคิดเดิมอย่างสิ้นเชิง รวมไปถึงกลวิธีของการสร้างบ้านสร้างเมืองของพระเจ้าตากสิน จวบจนสิ้นรัชสมัย ซึ่งก็ยังตีแนวคิดเดิมแตกอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน
เป็นหนังสือที่ช่วยทำให้เห็นภาพและเข้าใจความเป็นเมืองสังคมของอยุธยาในอดีตมากขึ้น ฉายให้เห็นคุณลักษณะวิธีการทำงาน ตลอดจนการเก็บข้อมูลที่ละเอียดรอบคอบสมกับเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของเมืองพระนครศรีอยุธยา
โปรตุเกสมหาอำนาจทางทะเลในอดีต ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาและมีบทบาทมากมายในกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานที่เป็นเอกสารโปรตุเกสหลายฉบับที่กล่าวถึงอยุธยาอย่างน่าสนใจ บางฉบับเป็นเอกสารใหม่ทรงคุณค่า บางฉบับมีผู้ค้นคว้าไปแล้วแต่ผู้เขียนนำมาวิเคราะห์ใหม่อันเป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาต่อไป
นำเสนอประเด็น ”สงครามไร้ประสบการณ์” ในสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ เรื่องของ "ประสบการณ์" ในการทำสงครามของกรุงศรีอยุธยากับพม่า สิ่งนี้แสดงให้เห็นชัดทั้งในพงศาวดารพม่าและพงศาวดารไทย
เรื่องราวของเจิ้งเหอ นักเดินเรือผู้เกรียงไกรที่สุดผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนและของโลก ตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิตจนถึงช่วงปลาย รวมถึงที่เกี่ยวพันกับไทย
หยิบเรื่องราวใกล้ตัวมาระบาย “วิธีคิด” ในมิติทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตและสังคมเชื่อมโยงให้เห็นภาพในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม