บริโภคโพสต์โมเดิร์น (Postmodern Consumption)
ว่าด้วยกระแสบริโภค/โพสต์โมเดิร์นของสังคมยุคปัจจุบัน ที่เข้าครอบงำจนวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปในมุมมองของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์
ว่าด้วยกระแสบริโภค/โพสต์โมเดิร์นของสังคมยุคปัจจุบัน ที่เข้าครอบงำจนวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปในมุมมองของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์
บันทึกวิถีชาวเรือในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ 70 กว่าปีก่อน จาก ส.พลายน้อย ผู้เกิดในเรือ รู้จักเรือประเภทต่างๆ เช่น เรือสำปั้น เรือหมู เรือพายม้า เรือสำปั้น เรือหางแมงป่อง เป็นต้น อธิบายวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณีที่เกี่ยวกับเรือ เช่น วิชาของคนอยู่เรือ ไหว้แม่ย่านาง ของเด็กเล่นชาวเรือ เทศกาลหน้าน้ำ เที่ยวทุ่ง เป็นต้น
ว่าด้วยศิลปสถาปัตยกรรมสยามสมัยต้นกรุงเทพฯ ทั้งสยามเก่าและสยามใหม่ มีจารีตทางศาสนาการเมืองของราชาธิราช เมื่อล่วงเข้าสู่ Modernization ความทันสมัยอย่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื้อหาสถาปัตย์เปลี่ยนเป็นไทยประยุกต์ แล้วสืบเนื่องถึงปลุกยกชาตินิยมด้วยอุดมการณ์เศรษฐกิจการเมืองอย่างประชาธิปไตยที่ยังทรงพลังในสังคม
พระพุทธรูปคือวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน แต่หากศึกษาให้ลึกซึ้งจะพบว่า การสร้าง บูรณะ หรือการอัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงในแต่ละเมือง คือการแสดงนัยยะบางอย่างจากรัฐมหาอำนาจ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปจึงแปรเปลี่ยนเป็นอำนาจทางการเมืองได้เฉกเช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่า ศาสนาย่อมไม่แยกจากการเมือง
วิเคราะห์งานศิลปะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงเบื้องหลังและแนวคิดการสร้างงาน รวมถึงความเคลื่อนไหวทางสังคม และการเมืองในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ที่เป็นปัจจัยสำคัญในรูปแบบงานศิลปะ
เมื่อครั้งรัชกาลที่ 6 ทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นยุคสมัยที่ประเทศทั่วโลกต่างมีกษัตริย์เป็น “นักรบ” พระองค์จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างภาพ “การทหาร” และทรงกระทำทุกวิถีทางเพื่อนำทหารมาอยู่ฝ่ายพระองค์ อาทิ ตั้งกองเสือป่า กรมทหารรักษาวัง เป็นต้น
ความขัดแย้ง การต่อสู้ของกลุ่มต่างๆ และบทบาทของขุนนางต่างชาติ กับกุศโลบายในการรักษาพระราชบัลลังก์ มุมมองใหม่ที่ต่างไปจากการตีความทางประวัติศาสตร์ที่ถือกันมาแต่ก่อน
งานวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับพระเจ้าตากสินที่วิเคราะห์ได้อย่างลุ่มลึก “เขาตายแต่ชื่อยัง แต่ตายอย่างไร ยังบอกไม่ได้”